การดำเนินงานขับเคลื่อนนวัตกรรม “G.ARC ตามหลักไตรสิกขา (threefold training) MODEL ขับเคลื่อนความรู้คู่คุณธรรม” ในรูปแบบ PDCA ซึ่งมีกระบวนการ ดังนี้
ขั้นที่ 1 P= Plan (การวางแผน) คือ การวางแผนในการดำเนินงาน มีกระบวนการในการดำเนินงาน
ดังนี้
1.1.1. วิเคราะห์บริบทของชุมชน/สภาพปัญหาของโรงเรียน (Swot) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาอุปสรรคและโอกาสในการพัฒนาส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2. จัดทำแผนกลยุทธ์ (Strategy) แผนปฏิบัติการ ในการดำเนินงานขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์กำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ในการดำเนินส่งเสริมคุณธรรม “ปัญหาที่ต้องแก้และความดีที่ต้องทำ”
1.1.3. ประชุมวางแผน/จัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชน
1.1.4. มอบหมายงานแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา
2. กำหนดคุณธรรมเป้าหมายและคุณธรรมอัตลักษณ์ โดยคำนึงถึงบริบทและสภาพทั่วไปของ
โรงเรียนมหาชัยพิทยาคารและชุมชน คำนึงถึงความต้องการหรือความจำเป็นจากหลาย ๆ ฝ่ายโดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งผู้ปกครองนักเรียน และชุมชนที่อยู่ในเขตบริการ เขาต้องการและปรารถนาอยากเห็นสถานศึกษาดำเนินงานกิจการต่าง ๆ ไปในทิศทางใด มีการขับเคลื่อนอย่างไร ซึ่งจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ วางแผนการทำงานร่วมกัน ของผู้บริหาร คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อกำหนดนโยบาย และแผนงาน ให้สอดรับแผนพัฒนาในระดับต่าง ๆ ตลอดจนถึงนโยบายสำคัญจากหน่วยงานต้นสังกัด อาทิเช่น กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน อาทิเช่น โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนสุจริต โรงเรียนปลอดขยะ สถานศึกษาสีขาว รักษ์ป่าน่าน เศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ซึ่งโครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่สามารถบูรณาการการ การสร้างองค์ความรู้ การลงมือปฏิบัติจริงและการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้กับผู้เรียนทั้งสิ้น โรงเรียนมหาชัยพิทยาคารมจึงได้วางกรอบแนวทางในการดำเนินงานตามลำดับความสำคัญจากนโยบายสูงสุด ลงสู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษา เพื่อเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน
ขั้นตอนที่ 2 D= Do คือ การดำเนินการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม มีกระบวนการในการ
ดำเนินงานดังนี้
2.1.1. ประชุมปฏิบัติการสะท้อนปัญหาจากอดีตสู่ปัจจุบัน ด้านการขาดคุณธรรม
จริยธรรม หาที่มาสาเหตุของปัญหาและดำเนินการกำหนดวิธีการในการแก้ปัญหา
2.1.2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียน
ครูและ บุคลากรในโรงเรียน
2.1.3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานคุณธรรม และสอดแทรกคุณธรรมใน
ชั่วโมงเรียนทุก กลุ่มสาระการเรียนรู้
2.1.4. จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมในสถานศึกษา ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ (Active
learning) การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงดังนี้
1. โครงการ/กิจกรรม โรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
2. โครงการ/กิจกรรม จิตอาสา
3.โครงการ/กิจกรรม โรงเรียนปลอดขยะ
4.โครงการ/กิจกรรม สถานศึกษาสีขาวปลอดอบายมุขและสิ่งเสพติด
5.โครงการ/กิจกรรม เศรษฐกิจพอเพียง
6.โครงการ/กิจกรรม อนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย
7.โครงการ/กิจกรรม โรงเรียนสุจริต
2.1.5. การดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรม อาศัยการมีส่วนร่วม (Participation) ของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการดำเนินงานดังต่อไปนี้
1) การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนงบประมาณโครงการส่งเสริมคุณธรรรม
จริยธรรมในสถานศึกษา จากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอนเช่น โครงการอบรมเยาวชนตำบลทาสองคอน โครงการอบรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โครงการแข่งขันกีฬาตำบลท่าสองคอน
2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจากที่บ้าน เช่น
การดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน ร่วมปลูกฝังคุณธรรมจากที่บ้านสู่สถานศึกษา
3) การมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และร่วม
แก้ไขปัญหา
2.1.6 มีการทำงานเป็น(Team) โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำในการขับเคลื่อน ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา ประสานงานกับทุกฝ่าย ครูผู้สอนเป็นผู้ออกแบบกิจกรรมการส่งเสริมคุณธรรม นักเรียนเป็นผู้ร่วมปฏิบัติกิจกรรม มีคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ให้การสนับสนุนและหนุนเสริม ขั้นตอนที่ 3 C=Check คือ การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา มีการนิเทศกำกับติดตามการดำเนินงาน สะท้อนความคิด (Reflection)และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินการพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน ครู และบุคลากร รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเพื่อปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น โดยมีการดำเนินงานดังนี้
- นิเทศ กำกับ ติดตาม เดือนละ 1 ครั้ง
- ส่งเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการดำเนินงาน
- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างครูโดยใช้กระบวนการ PLC ในการแก้ไขปัญหาจัดทำข้อมูลรายงาน (Report ) เป็นระยะ เพื่อพัฒนาต่อไป
ขั้นตอนที่ 4 A = Action คือ การสรุป ปรับปรุง แก้ไขและพัฒนา เพื่อความยั่งยืน มีการประเมินผล Authentic Assessment (ประเมินผลตามสภาพจริง) ของการดำเนินงาน ตรวจสอบความถูกต้องและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุง แก้ไขและพัฒนา นวัตกรรมการส่งเสริมคุณธรรมจริธรรม เพื่อความยั่งยืน สู่ threefold training ได้แก่
1.ศีล (canon) คือ หลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่มอบไว้เป็นหลักธรรม และคุณธรรมพื้นฐาน 5 ข้อ ให้พุทธศาสนิกชน ฆราวาส และพระภิกษุ ยึดถือปฏิบัติตาม โดยสามารถจำง่ายๆ ได้ดังนี้ 1. ห้ามฆ่าสัตว์ 2. ห้ามลักทรัพย์ 3. ห้ามผิดลูกเมียผู้อื่น 4. ห้ามพูดเท็จ 5. ห้ามดื่มสุรา และของมึนเมา
2.สมาธิ (meditate) คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต, ความมีใจตั้งมั่น.หรือความสำรวมใจให้แน่วแน่
ไม่ฟุ้งซ่านเพื่อให้จิตใจสงบ หรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง.
3.ปัญญา(wit) คือ ความรอบรู้, ความฉลาดอันเกิดจากการเรียนรู้ และคิดหรือความเห็นที่ถูกต้อง ความเข้าใจที่ถูกต้อง แล้วก็จะเจริญขึ้น จนกระทั่งมีคำอีกหลายคำ เช่นคำว่า ญาณ เป็นต้น หรือว่า วิปัสสนาญาณ


รูปภาพกิจกรรม

 


 

การเผยแผร่ผลงานการใช้การดำเนินงานขับเคลื่อนนวัตกรรม “G.ARC ตามหลักไตรสิกขา (threefold training) MODEL ขับเคลื่อนความรู้คู่คุณธรรม” ในรูปแบบ PDCA

05-08-2024

การดำเนินงานขับเคลื่อนนวัตกรรม “G.ARC ตามหลักไตรสิกขา (threefold training) MODEL ขับเคลื่อนความรู้คู่คุณธรรม” ในรูปแบบ PDCA ซึ่งมีกระบวนการ ดังนี้ขั้นที่ 1 P= Plan (การวางแผน) คือ การวางแผนในการดำเนินงาน มีกระบวนการในการดำเนินงานดังนี้1.1.1. วิเคราะห์บริบทของชุมชน/สภาพปัญหาของโ...

อ่านต่อ

การเผยแผร่ผลงานการใช้ M4HCS Model ในการนิเทศภายในสถานศึกษา

05-08-2024

M = 4M (Man, Money, Material, Method) สำหรับการนิเทศภายในของโรงเรียนขนาดเล็กสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ โดยมีแนวทางดังนี้ Man (คน) 1. การพัฒนาบุคลากร (Staff Development) - จัดฝึกอบรมและพัฒนาทักษะให้กับครูและบุคลากรเกี่ยวกับวิธีการสอนที่มีประสิทธิภ...

อ่านต่อ